วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556


แนวคิดเกี่ยวกับการแต่งกายของนักเรียน
ปัจจุบันการแต่งกายของนักเรียนจะเป็นไปตามแบบแฟชั่นนิยมเป็นส่วนใหญ่  ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่จะทราบหรือไม่ว่า  ชุดนักเรียนที่พวกเขากำลังสวมใส่นั้นเป็นชุดที่มีเกียรติอย่างยิ่ง แต่ไม่ทราบเพราะเหตุใดนักเรียนยังคงแต่งกายผิดระเบียบ และพยามยามเสาะแสวงหาสารพัดวิธีที่จะสร้างลูกเล่นลงบนชุดนักเรียน  ซึ่งจริง ๆ แล้วการกระทำในลักษณะนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง    
    
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioral Learning Theories)
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas) และ การตอบสนอง (Response) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง ผู้นำที่สำคัญของ กลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดร์ (Edward Thorndike) และสกินเนอร์ (B.F.Skinner)

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning)
ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้ คือ พาฟลอฟ ซึ่งเป็นนักสรีระวิทยาชาวรัสเซีย เขาได้ทำการศึกษาทดลองกับสุนัขให้ ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงใน ห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข (Before Conditioning) ระหว่างการวางเงื่อนไข (During Conditioning) และ หลังการวางเงื่อนไข (After Conditioning) อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค คือ การตอบสนอง ที่เป็นโดยอัตโนมัติเมื่อนำ สิ่งเร้าใหม่มาควบคุมกับสิ่งเร้าเดิม เรียกว่า พฤติกรรมเรสปอนเด้นท์ (Respondent Behavior) พฤติกรรมการเรียนรู้นี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับมนุษย์และสัตว์คำที่พาฟลอฟใช้อธิบายการทดลองของเขานั้น ประกอบด้วยคำสำคัญ ดังนี้
-       สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) คือ สิ่งเร้าที่ไม่ก่อให้เกิดการตอบสนอง
-       สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus หรือ US ) คือ สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้ตาม  ธรรมชาติ 
-       สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus หรือ CS) คือ สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้หลังจากถูกวางเงื่อนไขแล้วการตอบสนองที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข (Unconditioned Response หรือ UCR) คือการตอบสนองที่เกิดขึ้น ตามธรรมชาติ
การตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned Response หรือ CR) คือ การตอบสนองอันเป็นผลมาจากการเรียนรู้ที่ถูกวางเงื่อนไขแล้ว กระบวนการสำคัญอันเกิดจากการเรียนรู้ของพาฟลอฟ มีอยู่ 3 ประการ อันเกิดจากการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข คือ
-       การแผ่ขยาย (Generalization) คือ ความสามารถของอินทรีย์ที่จะตอบสนองในลักษณะเดิมต่อสิ่งเร้าที่มี ความหมายคล้ายคลึงกันได้
-       การจำแนก (Discrimination) คือ ความสามารถของอินทรีย์ในการที่จะจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้าได้
-       การลบพฤติกรรมชั่วคราว (Extinction) คือ การที่พฤติกรรมตอบสนองลดน้อยลงอันเป็นผลเนื่องมาจากการ ที่ไม่ได้รับสิ่งเร้า ที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข การฟื้นตัวของการตอบสนองที่วางเงื่อนไข (Spontaneous recovery) หลังจากเกิด การลบพฤติกรรม ชั่วคราวแล้ว สักระยะหนึ่งพฤติกรรมที่ถูกลบเงื่อนไขแล้วอาจฟื้นตัวเกิดขึ้นมาอีก เมื่อได้รับการกระตุ้นโดยสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข

ทฤษฎีการเสริมแรงทางบวก (Positive reinforcement)
การเสริมแรงทางบวกเป็นแนวคิดหนึ่งของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทํา (Operant conditioning Theory) ซึ่งการเสริมแรงพัฒนาโดยนักจิตวิทยาชาวอเมริกันชื่อ Burrhus F. Skinner  ทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่า พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลพวงมาจากการปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมพฤติกรรมที่เกิดขึ้น (Emitted) ของบุคคลจะเปลี่ยนไปเนื่องมาจากผลกรรม (Consequence) ที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมนั้น Skinner ให้ความสนใจกับผลกรรม 2 ประเภทคือ ผลกรรมที่เป็นตัวเสริมแรง(reinforcer)ทําให้พฤติกรรมที่บุคคลนั้นกระทําอยู่มีอัตราการกระทําเพิ่มมากขึ้นและ ผลกรรมที่เป็นตัวลงโทษ(purnisher) ทําให้พฤติกรรมที่บุคคลกระทํานั้นยุติลง ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะผลกรรมที่เป็นตัวเสริมแรงทางบวก(Positive Reinforce

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
พฤติกรรมการแต่งกายของนักศึกษาระบบจัดการความรู้ เพื่อแก้ปัญหาพฤติกรรมการแต่งกายของนักศึกษา
 ชุดนักศึกษาหรือยูนิฟอร์ม จัดอยู่ในระเบียบของแต่ละสถาบันที่กำหนดตั้งขึ้นตามนโยบายของรัฐในแต่ละระดับ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งชุดนักศึกษานั้นเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของแต่ละสถาบัน เป็นการสร้างวินัย มีความรับผิดชอบ ทำให้รู้สึกถึงความปลอดภัย เป็นสิ่งที่ดีงาม น่าภาคภูมิใจ แสดงถึงความรู้ สติปัญญา  แต่ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าการแต่งกายของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด อยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง นิสิต นักศึกษาทั่วประเทศมักจะแต่งกายล่อแหลม โป๊ ไม่เหมาะสม นักศึกษาหญิงนิยมใส่เสื้อผ้ารัดรูป ปล่อยชายเสื้อออกมานอกกระโปรง นุ่งกระโปรงสั้น และมักสวมรองเท้าแตะ หรือรองเท้าแฟชั่น รวมทั้งผมที่มักจะผิดระเบียบอยู่เป็นประจำ เช่น ปล่อยผมยาวสยาย ทำสีผม  หรือทำผมตามกระแสแฟชั่น ตามดาราทั้งในและต่างประเทศที่กำลังนิยมในปัจจุบัน   ส่วนนักศึกษาชาย นิยมสวมรองเท้าแตะ ปล่อยชายเสื้อ เป็นต้น เพราะเข้าใจเป็นสิ่งที่ทำให้ตนเองดูดี มีรสนิยม
ปัญหาการแต่งกายที่ไม่เหมาะสมของนักศึกษา ระดับอุดมศึกษา จากบทความเปลื้องนักศึกษาของศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (2550)กล่าวไว้ว่า กระทรวงวัฒนธรรม (สมัยคุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม)ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ (สมัยรศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) และ สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 30 แห่ง ร่วมกันกำหนด วาระแห่งชาติว่าด้วยการจัดระเบียบการแต่งกายของนักศึกษา  ซึ่งช่วงนั้นก็เกิดกระแสต่อต้านในมุมมองของสิทธิมนุษยชน ยกตัวอย่างเช่น จากการเผยแพร่วารสารสื่อสังวาสเรื่อง การใช้อำนาจควบคุมเด็กคือวาระแห่งชาติของหทัยรัตน์ สุดา (2550)  จากบทความเรื่อง การแต่งกายของนักศึกษากับอำนาจของ บัณฑิต ไกรวิจิตร (2550) และ บทความเรื่อง สิทธิมนษุยชน....กับการแต่งกายของนิสิตนักศึกษาของใบไม้สีชมพู(2552) ทำให้การรณรงค์นั้นยังไม่ประสบผลเท่าที่ควร ซึ่งทำให้กลายเป็นประเด็นที่ว่าชุดนักศึกษาเป็นปัญหาหรือไม่ จากบทความของอาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยอาจารย์ชลวิทย์ เจียรจิตต์ (2552)  แต่อย่างไรก็ตามยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ร่วมกันระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ (2552) ได้กล่าวถึงโครงการ อีกนิด  เพื่อจุฬา” (A bit more Project) ที่เป็นโครงการรณรงค์ในเรื่องการแต่งกายชุดนักศึกษาที่ถูกระเบียบ ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ ที่เพิ่งจะเริ่มต้นเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา  และจากบทความของรวมคลังความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรมหาวิทยาลัยศรีปทุม โดย Permalink (2551)  พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในกลุ่มของเยาวชนดังกล่าว  คือ  เยาวชนไทยขาดการปลูกฝังในด้าน คุณธรรม  จริยธรรม อย่างยั่งยืน อาจจะมีอยู่บ้างแต่ ไม่เกิดผลที่ถาวร ในขณะที่สังคมไทยต้องการเห็นภาพการพัฒนาเยาวชนไทยไปสู่การเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ  มีสติ  ปัญญา  มีความรู้และคุณธรรม  มีจริยธรรมและวัฒนธรรม  ในการดำรงชีวิต  สามารถอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นได้ อย่างมีความสุข  
  ผลสำรวจเกี่ยวกับปัญหาพฤติกรรมการแต่งกายของนักศึกษา (ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ :  2550)  พบว่า การแต่งกายของนักศึกษานักศึกษาในปัจจุบันเป็นปัญหาที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง และควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน  รวมทั้งยังได้กล่าวถึงการแต่งกายที่ไม่เหมาะสม จะก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม อาทิ การล่วงละเมิดทางเพศ การข่มขืน ปัญหาจี้ ปล้น วิ่งราวทรัพย์ รวมถึงทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของสถาบันและของตนเอง ไปจนถึงขัดกับวัฒนธรรมอันดีงามของไทย 
  จากการศึกษา การค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยต่างๆ มีเอกสารและวิทยานิพนธ์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับงานวิจัยนี้โดยตรง พอสรุปมาเป็นข้อสนับสนุนได้แก่ Velma Lapointและ Sylvan I.Alleyne [ออนไลน์:2546] ได้สรุปว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องทราบปัญหาเกี่ยวกับนักเรียน เพื่อระดมความคิดในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรม ควรมีการพัฒนาสื่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียนเพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับการแต่งกายและพฤติกรรมรวมถึงความจำเป็นในการแต่งกาย
 ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการแต่งกาย ของนักศึกษา  คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี โดยใช้ขั้นตอนการจัดการความรู้ของกมลรัตน์ สำเริง (2549)   เป็นเครื่องมือ ร่วมกับคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ผู้ปกครอง นายกสโมสรนักศึกษาและตัวแทนนักศึกษาในแต่ละสาขาวิชา  เพื่อทำให้งานมีผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย ผลการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการการศึกษา ฝ่ายกิจการนักศึกษา ผู้บริหารคณะวิทยาการจัดการและผู้บริหารมหาวิทยาลัยฯ ในด้านการวางแผน การตัดสินใจที่ดี สามารถเชื่อมโยงไปสู่การปฏิบัติทั้งในคณะวิทยาการจัดการและระหว่างคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล สอดคล้องกับแนวปรัชญาของคณะวิทยาการจัดการ คือ  สร้างสรรค์คุณภาพคู่คุณธรรม”  รวมทั้งเพื่อให้ผู้อื่นได้เรียนรู้นำไปประยุกต์ใช้ และทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เกิดขึ้นขยายวงกว้างไปได้ทั้งแนวดิ่งและแนวราบอย่างต่อเนื่อง

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ด้านงานวิจัย
 งานวิจัยนี้ ได้นำแนวคิดทฤษฎีต่างๆมาใช้ ได้แก่
 Carla O”DellและJackson Grayson (อ้างถึงในบุญดี บุญญากิจ และคณะ 2547: 21) กล่าวว่า
 “การจัดการความรู้เป็นกลยุทธ์ในการที่จะทำให้คนได้รับความรู้ที่ต้องการ ภายในเวลาที่เหมาะสม รวมทั้งช่วยทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน และนำความรู้ไปปฏิบัติเพื่อยกระดับและปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กร ทั้งนี้การจัดการความรู้ไม่ใช่เครื่องมือที่จัดการกับตัวของความรู้โดยตรงแต่เป็นวิธีการที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ที่มีระหว่างกันได้
   ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช (2548) ได้ให้ความหมายของคำว่า การจัดการความรู้”  เป็นเครื่องมือในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 4 ประการ คือ เป้าหมายของงาน เป้าหมายการพัฒนาคน เป้าหมายการพัฒนาองค์กร และเป้าหมายความเป็นชุมชน สำหรับความรู้ที่เกี่ยวข้องมี 2 ประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge                    จากเว๊ปไซต์www.novabizz.com [ออนไลน์] ได้กล่าวถึงการรู้คุณค่าของตัวเอง (self-esteem)ไว้ว่าหมายถึง บุคคลที่มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ มีความภูมิใจในผลสำเร็จของงาน มีความคิดริเริ่ม และมีความมุ่งมั่น ที่จะแก้ปัญหา และรับผิดชอบปัญหา ที่จะเกิดตามมา เป็นคนที่คนอื่นรักและรักคนอื่น เป็นบุคคลที่สามารถควบคุมตัวเอง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของงาน

วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objective(s))
1.เพื่อศึกษากระบวนการนำการจัดการความรู้มาแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการแต่งกายของนักศึกษา ในคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ให้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการแต่งกายของนักศึกษา ในคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

สมมติฐานการวิจัย
 1.  สร้างระบบการจัดการความรู้เพื่อการแก้ไขปัญหาพฤติกรรการแต่งกายของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  2.  ผลสัมฤทธิ์ต่อการปรับพฤติกรรมของนักศึกษากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกัน ในภาพรวม
  3.  ผลสัมฤทธิ์ต่อการปรับพฤติกรรมของนักศึกษากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกัน โดยจำแนกตามเพศ

ขอบเขตของการวิจัย
1.  ประชากร (อ้างอิง จากยอดนักศึกษาจริง คณะวิทยาการจัดการ :2552)
-  ประชากรที่ใช้ในการวิจัย  เป็นนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ภาคปกติ ประกอบด้วย  6 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำนวน 235 คน สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จำนวน 125 คน สาขาวิชาการบัญชี จำนวน 137 คน สาขาวิชาการตลาด จำนวน 67 คน สาขาวิชานิเทศศาสตร์ จำนวน 141 คน สาขาวิชาการจัดการทั่วไป จำนวน 109 คน รวมจำนวนนักศึกษาภาคปกติทั้งสิ้น จำนวน 814 คน
  -   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เพื่อให้กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีจำนวนที่ใกล้เคียงกัน จากนั้นดำเนินการโดยการจับฉลาก ผลปรากฏว่ากลุ่มแรกเป็นกลุ่มทดลอง เป็นนักศึกษา สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  จำนวน 235 คน กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มควบคุม เป็นนักศึกษา สาขาวิชา การจัดการทั่วไป และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จำนวน 234  คน รวมทั้งสิ้น 469 คน
2.   ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรอิสระ  ได้แก่
 -    ระบบการจัดการความรู้ ได้แก่ จัดตั้งคณะทำงาน KM Community  สัมมนาเชิงปฏิบัติการ  โครงการ (งามสง่าอย่างคนของพระราชา)   กิจกรรมต่างๆ และ ระบบเครือข่ายการติดต่อสื่อสาร แบบประเมิน  การสร้างแรงจูงใจ
ตัวแปรตาม   ได้แก่
 -  ประสิทธิภาพของระบบการจัดการความรู้ ตามเกณฑ์ 80/80
 -  รางวัลเพื่อสร้างแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อปรับพฤติกรรมการแต่งกาย

วิธีดำเนินการวิจัย
1. รูปแบบการวิจัย (research design)
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา(Research and Development) มีการนำเอาหลักการของการจัดการความรู้มาใช้ร่วมกัน อ้างอิงของ กมลรัตน์ สำเริง[ออนไลน์:2549]
1. ขั้นศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางในการสร้างระบบการจัดการความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการแต่งกายของนักศึกษา  คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
2. ขั้นวัตถุประสงค์ เป็นขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการปรับวิธีคิด ทัศนคติ พฤติกรรมของคนในองค์กร ให้ตระหนักในภัยต่างๆที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะภัยจากอาชญากรรม จากการถูกคุกคามทางเพศ ให้เห็นคุณค่าของตัวเอง  และเกิดความพร้อมในการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งแสวงหา สร้าง จัดเก็บ สืบค้น ตลอดจนถ่ายโอนและนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
 - จัดตั้งคณะทำงาน KM Community  ซึ่งทีมหลักประกอบด้วย คณบดี รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา นายกสโมสรนักศึกษาและตัวแทนนักศึกษาในแต่ละสาขาวิชา ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  - ปรับทัศนคติและพฤติกรรมของนักศึกษากลุ่มทดลอง โดยเริ่มจากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โดยในช่วงเริ่มต้นให้จัดแสดงวีดีทัศน์ ในมุมมองของปัญหาการแต่งกายที่เชื่อมโยงไปสู่การเกิดอาชญากรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม , ปัญหาการถูกคุกคามทางเพศ , ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยเรียน , ปัญหาการค้าประเวณี ตลอดจนถึงปัญหาที่ต้องถูกเลิกจ้างงาน พร้อมกันนี้ก็ได้มีคำแนะนำในการสร้างบุคลิกภาพที่ดี มีความตระหนักในคุณค่าตัวเอง เคารพตัวเอง สุดท้าย จัดให้มีการกำหนดแนวทางในการแก้ไขการปรับพฤติกรรมการแต่งกายของนักศึกษาร่วมกัน
 - กำหนดคำนิยาม ความรู้ในองค์กร  โครงการจัดการความรู้ ชื่อโครงการ (งามสง่าอย่างคนของพระราชา)
 - ให้มีกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมของการเรียนรู้ในองค์กร ที่เอื้ออำนวยประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ประกวดคำขวัญเกี่ยวกับการแต่งกาย ประกวดการทำบล็อกในหัวข้อ แต่งกายอย่างไรให้อินเทรนแต่ดูดี”  โครงการแอบถ่าย คุณดูดีนะ”  โดยแจกใบประกาศเกียรติคุณ พร้อมเงินรางวัลและเพิ่มคะแนนจิตพิสัยทุกรายวิชา สำหรับผู้ชนะ
  3. ขั้นกำหนดแนวเลือก เพื่อให้ได้ระบบเครือข่ายการติดต่อสื่อสาร มีความเชื่อมโยงที่ดี  มีความรวดเร็ว ความถูกต้องความทันสมัย น่าเชื่อถือ มีความสามารถในการเข้าถึงความสามารถในการตรวจสอบ การมีส่วนร่วมในกระบวนการข้อมูล อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมที่จะนำความรู้ต่างๆที่มีอยู่ในตัวบุคคลหรือรูปแบบที่จับต้องได้ มาแลกเปลี่ยน และเผยแพร่ให้กับทุกๆคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่องทางการสื่อสาร ได้แก่ Internet (KM Web) ของคณะวิทยาการจัดการ
 4. ขั้นการพัฒนา เป็นขั้นที่นำทางเลือกไว้มาพัฒนาหรือสร้างนวัตกรรมขึ้น ให้มีกระบวนการทำงานและเครื่องมือ ความรู้ต่างๆให้เกิดการแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับเครื่องมือ(Tools)  ได้แก่ การจัดทำ Internet (KM Web)  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้และการถ่ายโอนความรู้ ที่เป็นประโยชน์มารวบรวมไว้เป็นศูนย์กลางของความรู้ (Centralized Knowledge) โดย KM Web ประกอบด้วยเรื่องหลักๆ ดังนี้
 -  กฎระเบียบการแต่งกาย
 -  ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
-  การวิจัยและสำรวจเกี่ยวกับพฤติกรรมการแต่งกาย รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาพฤติกรรมการแต่งกาย เช่น การวิจัยปัญหาทางด้านอาชญากรรม ปัญหาการค้าประเวณี ปัญหาการเลิกจ้างงาน ทั้งในและต่างประเทศ
 -  สาเหตุการแต่งกายไม่ถูกระเบียบ
-  ภัยจากการแต่งตัว เช่น ข่าวสารต่างๆ จากในโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฯลฯ
-  ตัวอย่างการแต่งกายที่ดี
 -  ข่าวประชาสัมพันธ์
 -  ข่าวกิจกรรม
  -   Web board Activites
 -   รวมWeb site มหาวิทยาลัยต่างๆ(ร่วมรณรงค์การแต่งกาย)

5. ขั้นการใช้แบบประเมินเป็นตัวชี้วัด
-  จากการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ทำให้ผู้เข้าร่วม ได้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้านการแต่งกาย  เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ  มีสติ  ปัญญา  มีความรู้และคุณธรรม  มีจริยธรรมและวัฒนธรรม  ในการดำรงชีวิต  สามารถอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นได้ อย่างมีความสุข  และสามารถสร้างระบบการจัดการความรู้ เพื่อแก้ไขการพัฒนาเยาวชนไทยไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน
  -  ความสำเร็จหรือผิดพลาดของโครงการสามารถชี้ให้เห็นได้ด้วยตัวชี้วัด ซึ่งได้จัดทำแบบประเมินที่เหมาะสม เพื่อพิจารณาตรวจสอบ ความตรงตามเนื้อหา(Content Validity) ตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ดังนี้
ผศ.ธีระพันธ์      โชคอุดมชัย          คณบดีคณะวิทยาการจัดการ
ดร.ธงชัย          เหมือนชู              รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
นางสาววิยะดา  พลชัย                  อาจารย์ที่ปรึกษา
 เมื่อนำแบบประเมินที่ปรับปรุงสมบูรณ์แล้วมาจัดทำเป็นแบบประเมิน เพื่อนำมาผลประเมินมาพัฒนาโครงการและเปรียบเทียบ ระบบการจัดการที่มีผลต่อการปรับพฤติกรรมการแต่งกายของนักศึกษาในคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
  6. ขั้นการยอมรับและให้รางวัล เพื่อกระตุ้น ผลักดัน และส่งเสริมการดำเนินการโครงการให้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเน้นการสร้างแรงจูงใจในตนเอง(Self Motivation) และ ให้รางวัลตนเอง (Self Rewarding)  ซึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นจากภายในสู่ภายนอก (inside-out) ตัวอย่างเช่น เงินสด ของที่ระลึก ใบประกาศเกียรติคุณ คะแนนคุณธรรมจริยธรรม โดยแยกเป็นประเภทบุคคล และห้องเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นการให้ความสำคัญในการเข้าร่วมการจัดทำโครงการในครั้งนี้

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
 1. แบบประเมิน  เรื่อง พฤติกรรมการแต่งกายของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการในปัจจุบัน
  -   ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง เป็นแบบเช็ครายการ(Check List) 
 -   ข้อมูลด้านสภาพปัญหาการพัฒนาพฤติกรรม เป็นแบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ(Rating Scale)
 -   แบบประเมินการวัด การวิเคราะห์  และการจัดการความรู้ เป็นแบบประเมินให้แสดงความคิดเห็น (Paragraph text)  เพื่อตรวจสอบและประเมินว่าระบบการจัดการความรู้ของคณะวิทยาการจัดการ เป็นอย่างไร
 2. การจัดกิจกรรมต่างๆ  เพื่อสร้างแรงจูงใจ โดยแจกใบประกาศเกียรติคุณ พร้อมเงินรางวัลและเพิ่มคะแนนจิตพิสัยทุกรายวิชา สำหรับผู้ชนะเลิศ (ได้คะแนนสูงสุดจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน) ดังนี้
-    โครงการ (งามสง่าอย่างคนของพระราชา)
 -    ประกวดคำขวัญเกี่ยวกับการแต่งกาย
-    ประกวดการทำบล็อกในหัวข้อ แต่งกายอย่างไรให้อินเทรนแต่ดูดี
-    โครงการแอบถ่าย คุณดูดีนะ

การเก็บรวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลในการทำวิจัย กระทำโดยผู้วิจัย โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ผู้วิจัยนำแบบประเมิน  ให้กับคณบดีคณะวิทยาการจัดการ พร้อมกับรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อหาค่าความเที่ยงตรงตามเนื้อหาโดยชี้แจงวัตถุประสงค์ และขออนุญาตในการทดสอบเครื่องมือกับนักศึกษา
  2. ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ตามขั้นตอนดังนี้
2.1 ประสานงานกับรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา  อาจารย์ที่ปรึกษา   ผู้ปกครอง นายกสโมสรนักศึกษาและนักศึกษากลุ่มตัวอย่าง(กลุ่มทดลอง) จำนวน 235 คน จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และ จัดทำเครือข่าย Internet (KM Web) พร้อมกับให้อาจารย์ที่ปรึกษาของแต่ละห้องและผู้ปกครองของนักศึกษาแต่ละคน ทำประเมินนักศึกษาก่อนเข้าร่วมโครงการ (ตามบัญชีรายชื่อ) แล้วนำค่าที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย
 2.2 สำหรับกลุ่มควบคุม จำนวน 234 คน ให้อาจารย์ที่ปรึกษาของแต่ละห้องและผู้ปกครองของนักศึกษาแต่ละคน ทำประเมินนักศึกษาก่อนเข้าร่วมโครงการ (ตามบัญชีรายชื่อ) แล้วนำค่าที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย
 2.3 ให้นักศึกษากลุ่มตัวอย่าง(กลุ่มทดลอง) เข้าร่วมเครือข่าย Internet (KM Web) ของคณะวิทยาการจัดการและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เป็นระยะเวลา 1 เดือน
2.4 ในช่วงระหว่างเข้าร่วมเครือข่ายและกิจกรรมต่าง โดยให้อาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ปกครองทำการประเมิน  กลุ่มตัวอย่าง(กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม) ทุกอาทิตย์ รวมทั้งหมด 4 ครั้ง (รวมการประเมินนักศึกษาก่อนเข้าร่วมโครงการ พร้อมกับนำค่าที่ได้มาหาค่าเฉลี่ยทุกครั้ง)
 2.5 หลังจากที่เข้าร่วมกิจกรรมและระบบการจัดการความรู้ของคณะแล้ว ให้อาจารย์ที่ปรึกษาของแต่ละห้องและผู้ปกครองของนักศึกษาแต่ละคน ทำการประเมินนักศึกษากลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ให้เสร็จสิ้นภายใน 3 วัน (ตามบัญชีรายชื่อ)
2.6 ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้เวลาทั้งสิ้น1 ภาคเรียน (เป็นโครงร่างงานวิจัยอยู่ค่ะ)

การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows  Version 11.5   ซึ่งมีการประมวลผลข้อมูลเป็นขั้นตอน คือ หลังจากการตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบประเมินเรียบร้อยแล้ว จึงนำข้อมูลที่ได้มาเปลี่ยนแปลงเป็นรหัสตัวเลข (Code)  แล้วบันทึกรหัส ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ และเขียนโปรแกรมสั่งงานโดยใช้สถิติ ดังนี้
1. สถิติเชิงพรรณนา( Description Statistics)ศึกษาลักษณะการกระจายของข้อมูล  ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ ( Percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
2. สถิติเชิงวิเคราะห์ (Analytical Statistics)วิเคราะห์เปรียบเทียบการพัฒนาพฤติกรรมแต่งกายของกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม และหลังการเข้าร่วมกิจกรรม  ระบบจัดการความรู้โดยใช้การทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที (t-test)
 3. การคำนวณหาประสิทธิภาพระบบการจัดการความรู้ (การกำหนดเกณฑ์ค่า E1/E2)    ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ ( 2521 : 136 )

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.สามารถแก้ปัญหาพฤติกรรมการแต่งกายของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีโดยใช้ระบบการจัดการความรู้ได้
2.เกิดการเรียนรู้ร่วมกันทุกฝ่ายในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการแต่งกายของนักศึกษา
3.สามารถสร้างระบบการจัดการความรู้ เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกที่ดี ให้นักศึกษาเกิดความตระหนัก ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
4.สามารถช่วยลดปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ ปัญหาการเกิดอาชญากรรมได้

1 ความคิดเห็น:

  1. Water Hack Burns 2 lb of Fat OVERNIGHT

    Over 160k women and men are trying a easy and SECRET "water hack" to drop 2 lbs every night while they sleep.

    It is scientific and works on anybody.

    Just follow these easy step:

    1) Grab a glass and fill it up with water half glass

    2) Then follow this crazy hack

    and become 2 lbs skinnier the next day!

    ตอบลบ