วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556


 ความเป็นมาและความสำคัญของงานวิจัย
ชุดนักเรียน จัดอยู่ในระเบียบของแต่ละสถาบันที่ได้กำหนดขึ้นตามนโยบายของรัฐในแต่ละระดับ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งชุดนักเรียนนั้นเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของแต่ละสถาบัน เป็นการสร้างวินัย และสร้างความรับผิดชอบ ทำให้รู้สึกถึงความปลอดภัย เป็นสิ่งที่ดีงาม น่าภาคภูมิใจ แสดงถึงความรู้ สติปัญญา  แต่ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าการแต่งกายของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง
ปัญหาที่เกิดขึ้นในกลุ่มของเยาวชนดังกล่าว  คือ  เยาวชนไทยขาดการปลูกฝังในด้าน คุณธรรม  จริยธรรม อย่างยั่งยืน อาจจะมีอยู่บ้างแต่ ไม่เกิดผลที่ถาวร ในขณะที่สังคมไทยต้องการเห็นภาพการพัฒนาเยาวชนไทยไปสู่การเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ  มีสติ  ปัญญา  มีความรู้และคุณธรรม  มีจริยธรรมและวัฒนธรรม  ในการดำรงชีวิต  สามารถอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นได้ อย่างมีความสุข  
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการแต่งกายของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคมโดยการเลือกสุ่มแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต ระดับชั้นละ 5 คนเพื่อนำไปประเมินและวิเคราะห์ว่า พฤติกรรมการแต่งกายที่ไม่เหมาะสมส่วนใหญ่คืออะไร
วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
1.  เพื่อสำรวจ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการแต่งกายของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม
2.  เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ว่านักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม มีพฤติกรรมการแต่งกายที่ถูกระเบียบหรือไม่
3.  เพื่อศึกษาพฤติกรรมการแต่งกายของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม
สมมุติฐานของงานวิจัย
        ถ้านักเรียนมีพฤติกรรมการแต่งกายที่ถูกระเบียบ จะทำให้โรงเรียนมีเอกลักษณ์ที่ดี

ขอบเขตของงานวิจัย
1) ขอบเขตเนื้อหา
การวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดขอบเขตในการศึกษา คือ นักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ระดับชั้นละ 5 คน โดยมีการให้ทำแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบสังเกต
2) ขอบเขตประชากร
นักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 คนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2จำนวน 5 คน                              ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 คน                              ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 คน                               ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 คน                               ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 คน
รวมนักเรียนที่ทำการสุ่มในครั้งนี้มีจำนวนทั้งหมด 30 คน

3) ขอบเขตเวลา     
การวิจัยครั้งนี้มีกำหนดระยะเวลาในการศึกษา ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2555  รวมระยะเวลา 2 เดือน

นิยามศัพท์เฉพาะ
พฤติกรรม หมายถึง กิริยาของสิ่งมีชีวิตที่แสดงออกมาเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น ทั้งสิ่งเร้าภายใน และสิ่งเร้าภายนอก
การแต่งกาย หมายถึง การรู้จักเลือกเสื้อผ้า ที่ใส่แล้วเหมาะสมกับวัย และบุคลิกของผู้ที่สวมใส่ส่วนแบบของเสื้อผ้าขึ้นอยู่ที่ว่าคุณจะใส่ไปไหน เลือกให้เหมาะสมกับสถานที่ ไม่จำเป็นต้องเลือกเสื้อผ้าที่มีราคาแพงเพราะในบางครั้งอาจไม่ได้ช่วยให้คุณดูดีเพราะราคาที่แพงก็ได้

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมการแต่งกายที่ถูกระเบียบ
2. ทำให้นักเรียนมีบุคลิกภาพที่ดียิ่งขึ้น
3. ทำให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในการแต่งกายของสถานบัน




แนวคิดเกี่ยวกับการแต่งกายของนักเรียน
ปัจจุบันการแต่งกายของนักเรียนจะเป็นไปตามแบบแฟชั่นนิยมเป็นส่วนใหญ่  ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่จะทราบหรือไม่ว่า  ชุดนักเรียนที่พวกเขากำลังสวมใส่นั้นเป็นชุดที่มีเกียรติอย่างยิ่ง แต่ไม่ทราบเพราะเหตุใดนักเรียนยังคงแต่งกายผิดระเบียบ และพยามยามเสาะแสวงหาสารพัดวิธีที่จะสร้างลูกเล่นลงบนชุดนักเรียน  ซึ่งจริง ๆ แล้วการกระทำในลักษณะนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง    
    
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioral Learning Theories)
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas) และ การตอบสนอง (Response) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง ผู้นำที่สำคัญของ กลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดร์ (Edward Thorndike) และสกินเนอร์ (B.F.Skinner)

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning)
ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้ คือ พาฟลอฟ ซึ่งเป็นนักสรีระวิทยาชาวรัสเซีย เขาได้ทำการศึกษาทดลองกับสุนัขให้ ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงใน ห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข (Before Conditioning) ระหว่างการวางเงื่อนไข (During Conditioning) และ หลังการวางเงื่อนไข (After Conditioning) อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค คือ การตอบสนอง ที่เป็นโดยอัตโนมัติเมื่อนำ สิ่งเร้าใหม่มาควบคุมกับสิ่งเร้าเดิม เรียกว่า พฤติกรรมเรสปอนเด้นท์ (Respondent Behavior) พฤติกรรมการเรียนรู้นี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับมนุษย์และสัตว์คำที่พาฟลอฟใช้อธิบายการทดลองของเขานั้น ประกอบด้วยคำสำคัญ ดังนี้
-       สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) คือ สิ่งเร้าที่ไม่ก่อให้เกิดการตอบสนอง
-       สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus หรือ US ) คือ สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้ตาม  ธรรมชาติ 
-       สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus หรือ CS) คือ สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้หลังจากถูกวางเงื่อนไขแล้วการตอบสนองที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข (Unconditioned Response หรือ UCR) คือการตอบสนองที่เกิดขึ้น ตามธรรมชาติ
การตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned Response หรือ CR) คือ การตอบสนองอันเป็นผลมาจากการเรียนรู้ที่ถูกวางเงื่อนไขแล้ว กระบวนการสำคัญอันเกิดจากการเรียนรู้ของพาฟลอฟ มีอยู่ 3 ประการ อันเกิดจากการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข คือ
-       การแผ่ขยาย (Generalization) คือ ความสามารถของอินทรีย์ที่จะตอบสนองในลักษณะเดิมต่อสิ่งเร้าที่มี ความหมายคล้ายคลึงกันได้
-       การจำแนก (Discrimination) คือ ความสามารถของอินทรีย์ในการที่จะจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้าได้
-       การลบพฤติกรรมชั่วคราว (Extinction) คือ การที่พฤติกรรมตอบสนองลดน้อยลงอันเป็นผลเนื่องมาจากการ ที่ไม่ได้รับสิ่งเร้า ที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข การฟื้นตัวของการตอบสนองที่วางเงื่อนไข (Spontaneous recovery) หลังจากเกิด การลบพฤติกรรม ชั่วคราวแล้ว สักระยะหนึ่งพฤติกรรมที่ถูกลบเงื่อนไขแล้วอาจฟื้นตัวเกิดขึ้นมาอีก เมื่อได้รับการกระตุ้นโดยสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข

ทฤษฎีการเสริมแรงทางบวก (Positive reinforcement)
การเสริมแรงทางบวกเป็นแนวคิดหนึ่งของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทํา (Operant conditioning Theory) ซึ่งการเสริมแรงพัฒนาโดยนักจิตวิทยาชาวอเมริกันชื่อ Burrhus F. Skinner  ทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่า พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลพวงมาจากการปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมพฤติกรรมที่เกิดขึ้น (Emitted) ของบุคคลจะเปลี่ยนไปเนื่องมาจากผลกรรม (Consequence) ที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมนั้น Skinner ให้ความสนใจกับผลกรรม 2 ประเภทคือ ผลกรรมที่เป็นตัวเสริมแรง(reinforcer)ทําให้พฤติกรรมที่บุคคลนั้นกระทําอยู่มีอัตราการกระทําเพิ่มมากขึ้นและ ผลกรรมที่เป็นตัวลงโทษ(purnisher) ทําให้พฤติกรรมที่บุคคลกระทํานั้นยุติลง ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะผลกรรมที่เป็นตัวเสริมแรงทางบวก(Positive Reinforce

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
พฤติกรรมการแต่งกายของนักศึกษาระบบจัดการความรู้ เพื่อแก้ปัญหาพฤติกรรมการแต่งกายของนักศึกษา
 ชุดนักศึกษาหรือยูนิฟอร์ม จัดอยู่ในระเบียบของแต่ละสถาบันที่กำหนดตั้งขึ้นตามนโยบายของรัฐในแต่ละระดับ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งชุดนักศึกษานั้นเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของแต่ละสถาบัน เป็นการสร้างวินัย มีความรับผิดชอบ ทำให้รู้สึกถึงความปลอดภัย เป็นสิ่งที่ดีงาม น่าภาคภูมิใจ แสดงถึงความรู้ สติปัญญา  แต่ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าการแต่งกายของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด อยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง นิสิต นักศึกษาทั่วประเทศมักจะแต่งกายล่อแหลม โป๊ ไม่เหมาะสม นักศึกษาหญิงนิยมใส่เสื้อผ้ารัดรูป ปล่อยชายเสื้อออกมานอกกระโปรง นุ่งกระโปรงสั้น และมักสวมรองเท้าแตะ หรือรองเท้าแฟชั่น รวมทั้งผมที่มักจะผิดระเบียบอยู่เป็นประจำ เช่น ปล่อยผมยาวสยาย ทำสีผม  หรือทำผมตามกระแสแฟชั่น ตามดาราทั้งในและต่างประเทศที่กำลังนิยมในปัจจุบัน   ส่วนนักศึกษาชาย นิยมสวมรองเท้าแตะ ปล่อยชายเสื้อ เป็นต้น เพราะเข้าใจเป็นสิ่งที่ทำให้ตนเองดูดี มีรสนิยม
ปัญหาการแต่งกายที่ไม่เหมาะสมของนักศึกษา ระดับอุดมศึกษา จากบทความเปลื้องนักศึกษาของศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (2550)กล่าวไว้ว่า กระทรวงวัฒนธรรม (สมัยคุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม)ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ (สมัยรศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) และ สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 30 แห่ง ร่วมกันกำหนด วาระแห่งชาติว่าด้วยการจัดระเบียบการแต่งกายของนักศึกษา  ซึ่งช่วงนั้นก็เกิดกระแสต่อต้านในมุมมองของสิทธิมนุษยชน ยกตัวอย่างเช่น จากการเผยแพร่วารสารสื่อสังวาสเรื่อง การใช้อำนาจควบคุมเด็กคือวาระแห่งชาติของหทัยรัตน์ สุดา (2550)  จากบทความเรื่อง การแต่งกายของนักศึกษากับอำนาจของ บัณฑิต ไกรวิจิตร (2550) และ บทความเรื่อง สิทธิมนษุยชน....กับการแต่งกายของนิสิตนักศึกษาของใบไม้สีชมพู(2552) ทำให้การรณรงค์นั้นยังไม่ประสบผลเท่าที่ควร ซึ่งทำให้กลายเป็นประเด็นที่ว่าชุดนักศึกษาเป็นปัญหาหรือไม่ จากบทความของอาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยอาจารย์ชลวิทย์ เจียรจิตต์ (2552)  แต่อย่างไรก็ตามยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ร่วมกันระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ (2552) ได้กล่าวถึงโครงการ อีกนิด  เพื่อจุฬา” (A bit more Project) ที่เป็นโครงการรณรงค์ในเรื่องการแต่งกายชุดนักศึกษาที่ถูกระเบียบ ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ ที่เพิ่งจะเริ่มต้นเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา  และจากบทความของรวมคลังความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรมหาวิทยาลัยศรีปทุม โดย Permalink (2551)  พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในกลุ่มของเยาวชนดังกล่าว  คือ  เยาวชนไทยขาดการปลูกฝังในด้าน คุณธรรม  จริยธรรม อย่างยั่งยืน อาจจะมีอยู่บ้างแต่ ไม่เกิดผลที่ถาวร ในขณะที่สังคมไทยต้องการเห็นภาพการพัฒนาเยาวชนไทยไปสู่การเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ  มีสติ  ปัญญา  มีความรู้และคุณธรรม  มีจริยธรรมและวัฒนธรรม  ในการดำรงชีวิต  สามารถอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นได้ อย่างมีความสุข  
  ผลสำรวจเกี่ยวกับปัญหาพฤติกรรมการแต่งกายของนักศึกษา (ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ :  2550)  พบว่า การแต่งกายของนักศึกษานักศึกษาในปัจจุบันเป็นปัญหาที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง และควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน  รวมทั้งยังได้กล่าวถึงการแต่งกายที่ไม่เหมาะสม จะก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม อาทิ การล่วงละเมิดทางเพศ การข่มขืน ปัญหาจี้ ปล้น วิ่งราวทรัพย์ รวมถึงทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของสถาบันและของตนเอง ไปจนถึงขัดกับวัฒนธรรมอันดีงามของไทย 
  จากการศึกษา การค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยต่างๆ มีเอกสารและวิทยานิพนธ์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับงานวิจัยนี้โดยตรง พอสรุปมาเป็นข้อสนับสนุนได้แก่ Velma Lapointและ Sylvan I.Alleyne [ออนไลน์:2546] ได้สรุปว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องทราบปัญหาเกี่ยวกับนักเรียน เพื่อระดมความคิดในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรม ควรมีการพัฒนาสื่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียนเพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับการแต่งกายและพฤติกรรมรวมถึงความจำเป็นในการแต่งกาย
 ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการแต่งกาย ของนักศึกษา  คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี โดยใช้ขั้นตอนการจัดการความรู้ของกมลรัตน์ สำเริง (2549)   เป็นเครื่องมือ ร่วมกับคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ผู้ปกครอง นายกสโมสรนักศึกษาและตัวแทนนักศึกษาในแต่ละสาขาวิชา  เพื่อทำให้งานมีผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย ผลการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการการศึกษา ฝ่ายกิจการนักศึกษา ผู้บริหารคณะวิทยาการจัดการและผู้บริหารมหาวิทยาลัยฯ ในด้านการวางแผน การตัดสินใจที่ดี สามารถเชื่อมโยงไปสู่การปฏิบัติทั้งในคณะวิทยาการจัดการและระหว่างคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล สอดคล้องกับแนวปรัชญาของคณะวิทยาการจัดการ คือ  สร้างสรรค์คุณภาพคู่คุณธรรม”  รวมทั้งเพื่อให้ผู้อื่นได้เรียนรู้นำไปประยุกต์ใช้ และทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เกิดขึ้นขยายวงกว้างไปได้ทั้งแนวดิ่งและแนวราบอย่างต่อเนื่อง

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ด้านงานวิจัย
 งานวิจัยนี้ ได้นำแนวคิดทฤษฎีต่างๆมาใช้ ได้แก่
 Carla O”DellและJackson Grayson (อ้างถึงในบุญดี บุญญากิจ และคณะ 2547: 21) กล่าวว่า
 “การจัดการความรู้เป็นกลยุทธ์ในการที่จะทำให้คนได้รับความรู้ที่ต้องการ ภายในเวลาที่เหมาะสม รวมทั้งช่วยทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน และนำความรู้ไปปฏิบัติเพื่อยกระดับและปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กร ทั้งนี้การจัดการความรู้ไม่ใช่เครื่องมือที่จัดการกับตัวของความรู้โดยตรงแต่เป็นวิธีการที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ที่มีระหว่างกันได้
   ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช (2548) ได้ให้ความหมายของคำว่า การจัดการความรู้”  เป็นเครื่องมือในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 4 ประการ คือ เป้าหมายของงาน เป้าหมายการพัฒนาคน เป้าหมายการพัฒนาองค์กร และเป้าหมายความเป็นชุมชน สำหรับความรู้ที่เกี่ยวข้องมี 2 ประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge                    จากเว๊ปไซต์www.novabizz.com [ออนไลน์] ได้กล่าวถึงการรู้คุณค่าของตัวเอง (self-esteem)ไว้ว่าหมายถึง บุคคลที่มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ มีความภูมิใจในผลสำเร็จของงาน มีความคิดริเริ่ม และมีความมุ่งมั่น ที่จะแก้ปัญหา และรับผิดชอบปัญหา ที่จะเกิดตามมา เป็นคนที่คนอื่นรักและรักคนอื่น เป็นบุคคลที่สามารถควบคุมตัวเอง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของงาน

วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objective(s))
1.เพื่อศึกษากระบวนการนำการจัดการความรู้มาแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการแต่งกายของนักศึกษา ในคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ให้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการแต่งกายของนักศึกษา ในคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

สมมติฐานการวิจัย
 1.  สร้างระบบการจัดการความรู้เพื่อการแก้ไขปัญหาพฤติกรรการแต่งกายของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  2.  ผลสัมฤทธิ์ต่อการปรับพฤติกรรมของนักศึกษากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกัน ในภาพรวม
  3.  ผลสัมฤทธิ์ต่อการปรับพฤติกรรมของนักศึกษากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกัน โดยจำแนกตามเพศ

ขอบเขตของการวิจัย
1.  ประชากร (อ้างอิง จากยอดนักศึกษาจริง คณะวิทยาการจัดการ :2552)
-  ประชากรที่ใช้ในการวิจัย  เป็นนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ภาคปกติ ประกอบด้วย  6 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำนวน 235 คน สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จำนวน 125 คน สาขาวิชาการบัญชี จำนวน 137 คน สาขาวิชาการตลาด จำนวน 67 คน สาขาวิชานิเทศศาสตร์ จำนวน 141 คน สาขาวิชาการจัดการทั่วไป จำนวน 109 คน รวมจำนวนนักศึกษาภาคปกติทั้งสิ้น จำนวน 814 คน
  -   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เพื่อให้กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีจำนวนที่ใกล้เคียงกัน จากนั้นดำเนินการโดยการจับฉลาก ผลปรากฏว่ากลุ่มแรกเป็นกลุ่มทดลอง เป็นนักศึกษา สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  จำนวน 235 คน กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มควบคุม เป็นนักศึกษา สาขาวิชา การจัดการทั่วไป และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จำนวน 234  คน รวมทั้งสิ้น 469 คน
2.   ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรอิสระ  ได้แก่
 -    ระบบการจัดการความรู้ ได้แก่ จัดตั้งคณะทำงาน KM Community  สัมมนาเชิงปฏิบัติการ  โครงการ (งามสง่าอย่างคนของพระราชา)   กิจกรรมต่างๆ และ ระบบเครือข่ายการติดต่อสื่อสาร แบบประเมิน  การสร้างแรงจูงใจ
ตัวแปรตาม   ได้แก่
 -  ประสิทธิภาพของระบบการจัดการความรู้ ตามเกณฑ์ 80/80
 -  รางวัลเพื่อสร้างแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อปรับพฤติกรรมการแต่งกาย

วิธีดำเนินการวิจัย
1. รูปแบบการวิจัย (research design)
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา(Research and Development) มีการนำเอาหลักการของการจัดการความรู้มาใช้ร่วมกัน อ้างอิงของ กมลรัตน์ สำเริง[ออนไลน์:2549]
1. ขั้นศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางในการสร้างระบบการจัดการความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการแต่งกายของนักศึกษา  คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
2. ขั้นวัตถุประสงค์ เป็นขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการปรับวิธีคิด ทัศนคติ พฤติกรรมของคนในองค์กร ให้ตระหนักในภัยต่างๆที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะภัยจากอาชญากรรม จากการถูกคุกคามทางเพศ ให้เห็นคุณค่าของตัวเอง  และเกิดความพร้อมในการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งแสวงหา สร้าง จัดเก็บ สืบค้น ตลอดจนถ่ายโอนและนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
 - จัดตั้งคณะทำงาน KM Community  ซึ่งทีมหลักประกอบด้วย คณบดี รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา นายกสโมสรนักศึกษาและตัวแทนนักศึกษาในแต่ละสาขาวิชา ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  - ปรับทัศนคติและพฤติกรรมของนักศึกษากลุ่มทดลอง โดยเริ่มจากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โดยในช่วงเริ่มต้นให้จัดแสดงวีดีทัศน์ ในมุมมองของปัญหาการแต่งกายที่เชื่อมโยงไปสู่การเกิดอาชญากรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม , ปัญหาการถูกคุกคามทางเพศ , ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยเรียน , ปัญหาการค้าประเวณี ตลอดจนถึงปัญหาที่ต้องถูกเลิกจ้างงาน พร้อมกันนี้ก็ได้มีคำแนะนำในการสร้างบุคลิกภาพที่ดี มีความตระหนักในคุณค่าตัวเอง เคารพตัวเอง สุดท้าย จัดให้มีการกำหนดแนวทางในการแก้ไขการปรับพฤติกรรมการแต่งกายของนักศึกษาร่วมกัน
 - กำหนดคำนิยาม ความรู้ในองค์กร  โครงการจัดการความรู้ ชื่อโครงการ (งามสง่าอย่างคนของพระราชา)
 - ให้มีกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมของการเรียนรู้ในองค์กร ที่เอื้ออำนวยประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ประกวดคำขวัญเกี่ยวกับการแต่งกาย ประกวดการทำบล็อกในหัวข้อ แต่งกายอย่างไรให้อินเทรนแต่ดูดี”  โครงการแอบถ่าย คุณดูดีนะ”  โดยแจกใบประกาศเกียรติคุณ พร้อมเงินรางวัลและเพิ่มคะแนนจิตพิสัยทุกรายวิชา สำหรับผู้ชนะ
  3. ขั้นกำหนดแนวเลือก เพื่อให้ได้ระบบเครือข่ายการติดต่อสื่อสาร มีความเชื่อมโยงที่ดี  มีความรวดเร็ว ความถูกต้องความทันสมัย น่าเชื่อถือ มีความสามารถในการเข้าถึงความสามารถในการตรวจสอบ การมีส่วนร่วมในกระบวนการข้อมูล อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมที่จะนำความรู้ต่างๆที่มีอยู่ในตัวบุคคลหรือรูปแบบที่จับต้องได้ มาแลกเปลี่ยน และเผยแพร่ให้กับทุกๆคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่องทางการสื่อสาร ได้แก่ Internet (KM Web) ของคณะวิทยาการจัดการ
 4. ขั้นการพัฒนา เป็นขั้นที่นำทางเลือกไว้มาพัฒนาหรือสร้างนวัตกรรมขึ้น ให้มีกระบวนการทำงานและเครื่องมือ ความรู้ต่างๆให้เกิดการแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับเครื่องมือ(Tools)  ได้แก่ การจัดทำ Internet (KM Web)  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้และการถ่ายโอนความรู้ ที่เป็นประโยชน์มารวบรวมไว้เป็นศูนย์กลางของความรู้ (Centralized Knowledge) โดย KM Web ประกอบด้วยเรื่องหลักๆ ดังนี้
 -  กฎระเบียบการแต่งกาย
 -  ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
-  การวิจัยและสำรวจเกี่ยวกับพฤติกรรมการแต่งกาย รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาพฤติกรรมการแต่งกาย เช่น การวิจัยปัญหาทางด้านอาชญากรรม ปัญหาการค้าประเวณี ปัญหาการเลิกจ้างงาน ทั้งในและต่างประเทศ
 -  สาเหตุการแต่งกายไม่ถูกระเบียบ
-  ภัยจากการแต่งตัว เช่น ข่าวสารต่างๆ จากในโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฯลฯ
-  ตัวอย่างการแต่งกายที่ดี
 -  ข่าวประชาสัมพันธ์
 -  ข่าวกิจกรรม
  -   Web board Activites
 -   รวมWeb site มหาวิทยาลัยต่างๆ(ร่วมรณรงค์การแต่งกาย)

5. ขั้นการใช้แบบประเมินเป็นตัวชี้วัด
-  จากการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ทำให้ผู้เข้าร่วม ได้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้านการแต่งกาย  เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ  มีสติ  ปัญญา  มีความรู้และคุณธรรม  มีจริยธรรมและวัฒนธรรม  ในการดำรงชีวิต  สามารถอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นได้ อย่างมีความสุข  และสามารถสร้างระบบการจัดการความรู้ เพื่อแก้ไขการพัฒนาเยาวชนไทยไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน
  -  ความสำเร็จหรือผิดพลาดของโครงการสามารถชี้ให้เห็นได้ด้วยตัวชี้วัด ซึ่งได้จัดทำแบบประเมินที่เหมาะสม เพื่อพิจารณาตรวจสอบ ความตรงตามเนื้อหา(Content Validity) ตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ดังนี้
ผศ.ธีระพันธ์      โชคอุดมชัย          คณบดีคณะวิทยาการจัดการ
ดร.ธงชัย          เหมือนชู              รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
นางสาววิยะดา  พลชัย                  อาจารย์ที่ปรึกษา
 เมื่อนำแบบประเมินที่ปรับปรุงสมบูรณ์แล้วมาจัดทำเป็นแบบประเมิน เพื่อนำมาผลประเมินมาพัฒนาโครงการและเปรียบเทียบ ระบบการจัดการที่มีผลต่อการปรับพฤติกรรมการแต่งกายของนักศึกษาในคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
  6. ขั้นการยอมรับและให้รางวัล เพื่อกระตุ้น ผลักดัน และส่งเสริมการดำเนินการโครงการให้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเน้นการสร้างแรงจูงใจในตนเอง(Self Motivation) และ ให้รางวัลตนเอง (Self Rewarding)  ซึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นจากภายในสู่ภายนอก (inside-out) ตัวอย่างเช่น เงินสด ของที่ระลึก ใบประกาศเกียรติคุณ คะแนนคุณธรรมจริยธรรม โดยแยกเป็นประเภทบุคคล และห้องเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นการให้ความสำคัญในการเข้าร่วมการจัดทำโครงการในครั้งนี้

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
 1. แบบประเมิน  เรื่อง พฤติกรรมการแต่งกายของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการในปัจจุบัน
  -   ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง เป็นแบบเช็ครายการ(Check List) 
 -   ข้อมูลด้านสภาพปัญหาการพัฒนาพฤติกรรม เป็นแบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ(Rating Scale)
 -   แบบประเมินการวัด การวิเคราะห์  และการจัดการความรู้ เป็นแบบประเมินให้แสดงความคิดเห็น (Paragraph text)  เพื่อตรวจสอบและประเมินว่าระบบการจัดการความรู้ของคณะวิทยาการจัดการ เป็นอย่างไร
 2. การจัดกิจกรรมต่างๆ  เพื่อสร้างแรงจูงใจ โดยแจกใบประกาศเกียรติคุณ พร้อมเงินรางวัลและเพิ่มคะแนนจิตพิสัยทุกรายวิชา สำหรับผู้ชนะเลิศ (ได้คะแนนสูงสุดจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน) ดังนี้
-    โครงการ (งามสง่าอย่างคนของพระราชา)
 -    ประกวดคำขวัญเกี่ยวกับการแต่งกาย
-    ประกวดการทำบล็อกในหัวข้อ แต่งกายอย่างไรให้อินเทรนแต่ดูดี
-    โครงการแอบถ่าย คุณดูดีนะ

การเก็บรวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลในการทำวิจัย กระทำโดยผู้วิจัย โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ผู้วิจัยนำแบบประเมิน  ให้กับคณบดีคณะวิทยาการจัดการ พร้อมกับรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อหาค่าความเที่ยงตรงตามเนื้อหาโดยชี้แจงวัตถุประสงค์ และขออนุญาตในการทดสอบเครื่องมือกับนักศึกษา
  2. ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ตามขั้นตอนดังนี้
2.1 ประสานงานกับรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา  อาจารย์ที่ปรึกษา   ผู้ปกครอง นายกสโมสรนักศึกษาและนักศึกษากลุ่มตัวอย่าง(กลุ่มทดลอง) จำนวน 235 คน จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และ จัดทำเครือข่าย Internet (KM Web) พร้อมกับให้อาจารย์ที่ปรึกษาของแต่ละห้องและผู้ปกครองของนักศึกษาแต่ละคน ทำประเมินนักศึกษาก่อนเข้าร่วมโครงการ (ตามบัญชีรายชื่อ) แล้วนำค่าที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย
 2.2 สำหรับกลุ่มควบคุม จำนวน 234 คน ให้อาจารย์ที่ปรึกษาของแต่ละห้องและผู้ปกครองของนักศึกษาแต่ละคน ทำประเมินนักศึกษาก่อนเข้าร่วมโครงการ (ตามบัญชีรายชื่อ) แล้วนำค่าที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย
 2.3 ให้นักศึกษากลุ่มตัวอย่าง(กลุ่มทดลอง) เข้าร่วมเครือข่าย Internet (KM Web) ของคณะวิทยาการจัดการและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เป็นระยะเวลา 1 เดือน
2.4 ในช่วงระหว่างเข้าร่วมเครือข่ายและกิจกรรมต่าง โดยให้อาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ปกครองทำการประเมิน  กลุ่มตัวอย่าง(กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม) ทุกอาทิตย์ รวมทั้งหมด 4 ครั้ง (รวมการประเมินนักศึกษาก่อนเข้าร่วมโครงการ พร้อมกับนำค่าที่ได้มาหาค่าเฉลี่ยทุกครั้ง)
 2.5 หลังจากที่เข้าร่วมกิจกรรมและระบบการจัดการความรู้ของคณะแล้ว ให้อาจารย์ที่ปรึกษาของแต่ละห้องและผู้ปกครองของนักศึกษาแต่ละคน ทำการประเมินนักศึกษากลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ให้เสร็จสิ้นภายใน 3 วัน (ตามบัญชีรายชื่อ)
2.6 ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้เวลาทั้งสิ้น1 ภาคเรียน (เป็นโครงร่างงานวิจัยอยู่ค่ะ)

การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows  Version 11.5   ซึ่งมีการประมวลผลข้อมูลเป็นขั้นตอน คือ หลังจากการตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบประเมินเรียบร้อยแล้ว จึงนำข้อมูลที่ได้มาเปลี่ยนแปลงเป็นรหัสตัวเลข (Code)  แล้วบันทึกรหัส ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ และเขียนโปรแกรมสั่งงานโดยใช้สถิติ ดังนี้
1. สถิติเชิงพรรณนา( Description Statistics)ศึกษาลักษณะการกระจายของข้อมูล  ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ ( Percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
2. สถิติเชิงวิเคราะห์ (Analytical Statistics)วิเคราะห์เปรียบเทียบการพัฒนาพฤติกรรมแต่งกายของกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม และหลังการเข้าร่วมกิจกรรม  ระบบจัดการความรู้โดยใช้การทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที (t-test)
 3. การคำนวณหาประสิทธิภาพระบบการจัดการความรู้ (การกำหนดเกณฑ์ค่า E1/E2)    ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ ( 2521 : 136 )

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.สามารถแก้ปัญหาพฤติกรรมการแต่งกายของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีโดยใช้ระบบการจัดการความรู้ได้
2.เกิดการเรียนรู้ร่วมกันทุกฝ่ายในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการแต่งกายของนักศึกษา
3.สามารถสร้างระบบการจัดการความรู้ เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกที่ดี ให้นักศึกษาเกิดความตระหนัก ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
4.สามารถช่วยลดปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ ปัญหาการเกิดอาชญากรรมได้

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสาเหตุของพฤติกรรมการแต่งกายของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม  มีขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย ดังนี้

ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
        ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม โดยเฉลี่ยแต่ละชั้น ม.1-6 จำนวนชั้นละ 5 คน โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.แบบสอบถาม ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อพฤติกรรมการแต่งกายที่ผิดระเบียบ
2.แบบสัมภาษณ์ โดยให้กลุ่มตัวอย่างกรอกข้อความลงไป เป็นคำถามปลายปิด
3.แบบสังเกต โดยให้กลุ่มตัวอย่างทำเครื่องหมาย Pลงในช่องว่างตามพฤติกรรมนั้นๆที่ได้พบเห็น

การทดสอบเครื่องมือ
       แบบสอบถามที่สร้างขึ้นเพื่อการวิจัยนี้ ได้ถูกนำไปทดสอบหาความเที่ยงตรงของเนื้อหา โดยนำแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เบื้องต้นและแบบสังเกต ไปเสนออาจารย์ที่ปรึกษาประจำรายวิชาให้พิจารณา พร้อมทั้งทำการปรับปรุงแก้ไขให้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกตนี้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ หลังจากนั้นจะนำไปทดสอบความเชื่อมั่น (Reliability) ของเครื่องมือกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน เพื่อทดสอบว่าคำถามมีความเหมาะสมหรือไม่เพียงใด และใช้ค่าร้อยละในการตรวจสอบภาพรวมของแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ เพื่อดูถึงความถูกต้องของแบบทดสอบนี้ และเพื่อสามารถนำไปใช้ในการวิจัยต่อไปได้

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
        การศึกษาครั้งนี้ได้ใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกตในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 ชุด สำหรับขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ทำการตรวจสอบข้อมูล ความถูกต้องสมบูรณ์ในการตอบคำถามของแต่ละชุดจนครบทุกชุด จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละชุด แล้วเก็บรวบรวมไว้เพื่อนำมาใช้ในการวิจัยต่อไป

การวิเคราะห์ข้อมูล
        1.ผู้วิจัยนำแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกตอย่างละ 30 ชุดที่วิเคราะห์แล้วมาบันทึกข้อมูล
        2. นำมาบันทึกเป็นสถิติการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของบุคคล ได้แก่เพศ อายุ ห้องเรียน และระดับการศึกษา ของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ค่าร้อยละในการหาค่า


งานวิจัย พฤติกรรมการแต่งกายของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม มีผลการดำเนินงานวิจัยดังนี้ 1)ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม 2)การวิเคราะห์ความคิดเห็น มีรายละเอียดดังนี้

ตอนที่1 ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล
ตารางที่ 4.1 แสดงจำนวนร้อยละปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล
ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล
จำนวน
(n=30)
ร้อยละ
เพศ
-                   หญิง
-                   ชาย
30
15
15

100
50
50
ระดับการศึกษา
-                   มัธยมศึกษาปีที่ 1
-                   มัธยมศึกษาปีที่ 2
-                   มัธยมศึกษาปีที่ 3
-                   มัธยมศึกษาปีที่ 4
-                   มัธยมศึกษาปีที่ 5
-                   มัธยมศึกษาปีที่ 6

5
5
5
5
5
5

16.67
16.67
16.67
16.67
16.67
16.67

          จากตารางที่ 4.1 แสดงข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง  ซึ่งเป็นนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ผู้วิจัยสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
        เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 50 จำนวน 15 คน เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 50 จำนวน 15 คน
        เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามในระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 16.67 จำนวน 5 คน มัธยมศึกษาปีที่ 2 ร้อยละ 16.67 จำนวน 5 คน มัธยมศึกษาปีที่ 3 ร้อยละ 16.67 จำนวน 5 คน มัธยมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 16.67 จำนวน 5 คน มัธยมศึกษาปีที่ 5 ร้อยละ 16.67 จำนวน 5 คนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 16.67 จำนวน 5 คน

ตอนที่ 2  ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อพฤติกรรมการแต่งกายที่ผิดระเบียบ
ตารางที่ 4.1 ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการแต่งกายที่ผิดระเบียบของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม โดยภาพรวม

รายการประเมิน
ระดับความคิดเห็น
   ค่าเฉลี่ย
S.D.
แปลผล
1.นุ่งกระโปรง หรือ กางเกงสั้น ไม่เลยหัวเข่า
2.67
3.63
มากที่สุด
2.ไม่ติดเข็มของโรงเรียน
2.33
2.97
มาก
3.ใส่ถุงเท้าที่ยาวหรือสั้นเกินไป
2.67
1.67
มากที่สุด
4.ใส่โบว์ผูกผมที่ไม่ใช่สีดำหรือสีน้ำเงิน
2.43
2.76
มาก
5.ไม่ใส่เข็มขัด
2.13
4.15
ปานกลาง
6.ทำกางเกงวอร์มพละให้เป็นขาเดฟ
1.73
5.93
น้อย
7.เด็กหญิง ม.ต้นไม่ใส่หูกระต่าย
2.00
4.56
ปานกลาง
8.ไม่ปักชื่อ – สกุล ห้อง ลงบนเสื้อพละ
2.30
3.58
มาก
รวม
2.28
1.28
มาก

        จากตารางที่ 4.1กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการแต่งกายที่ผิดระเบียบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย = 2.28 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการแต่งกายที่ผิดระเบียบอยู่ในระดับมากที่สุด คือ 1.นุ่งกระโปรง หรือ กางเกงสั้น ไม่เลยหัวเข่า และ3.ใส่ถุงเท้าที่ยาวหรือสั้นเกินไป ค่าเฉลี่ย = 2.67รองลงมาคือข้อ 4.ใส่โบว์ผูกผมที่ไม่ใช่สีดำหรือสีน้ำเงิน มีค่าเฉลี่ย=2.43 และข้อ2.ไม่ติดเข็มของโรงเรียนเงิน มีค่าเฉลี่ย=2.33  และข้อ 8.ไม่ปักชื่อ – สกุล ห้อง ลงบนเสื้อพละ มีค่าเฉลี่ย=2.30  และข้อ 5.ไม่ใส่เข็มขัด มีค่าเฉลี่ย=2.13 และข้อ 7.เด็กหญิง ม.ต้นไม่ใส่หูกระต่าย มีค่าเฉลี่ย=2.00 และข้อ 6.ทำกางเกงวอร์มพละให้เป็นขาเดฟ มีค่าเฉลี่ย =1.73 ตามลำดับ

 สรุปผลการวิจัย
งานวิจัยพฤติกรรมการแต่งกายผิดระเบียบของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ประกอบด้วย1) สรุปผลการดำเนินงานการวิจัย 2) ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการแต่งกายที่ผิดระเบียบ    
สรุปผลการวิจัย ปรากฏดังนี้
     งานวิจัยศึกษาพฤติกรรมการแต่งกายที่ผิดระเบียบของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม
 ผู้จัดทำงานวิจัยมีวัตถุประสงค์1. เพื่อสำรวจ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการแต่งกายของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม และ 2. เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ว่านักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม มีพฤติกรรมการแต่งกายที่ถูกระเบียบหรือไม่
ซึ่งในการศึกษาหาผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม เลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30คนและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือค่าร้อยละการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D สามารถสรุปได้ดังนี้
ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม มีทั้งหมด 30คน คิดเป็นร้อยละ 100 เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 50 จำนวน 15 คน เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 50 จำนวน 15 คน
ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมการแต่งกายที่ผิดระเบียบที่พบเห็นมากที่สุด พบว่า ของกลุ่มตัวอย่าง พฤติกรรมที่พบเห็นมากที่สุด คือ นุ่งกระโปรง หรือ กางเกงสั้น ไม่เลยหัวเข่า และ ใส่ถุงเท้าที่ยาวหรือสั้นเกินไป รองลงมาคือ ใส่ถุงเท้าที่ยาวหรือสั้นเกินไป ,ไม่ติดเข็มของโรงเรียน ,ไม่ติดเข็มของโรงเรียน,ไม่ปักชื่อ – สกุล ห้อง ลงบนเสื้อพละ,ไม่ใส่เข็มขัด,เด็กหญิง ม.ต้นไม่ใส่หูกระต่ายและทำกางเกงวอร์มพละให้เป็นขาเดฟ ตามลำดับ

อภิปรายผลการดำเนินการงานวิจัย
ตอนที่ 1 ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล
แสดงปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6โรงเรียนพะเยาพิทยาคมผู้วิจัยสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 50 จำนวน 15 คน เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 50 จำนวน 15 คน
เมื่อจำแนกตามการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม อยู่ในระดับชันมัธยมศึกษาปีที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 16.67  จำนวน 5 คน ระดับชันมัธยมศึกษาปีที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 16.67  จำนวน 5 คน ระดับชันมัธยมศึกษาปีที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 16.67  จำนวน 5 คน ระดับชันมัธยมศึกษาปีที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 16.67  จำนวน 5 คน ระดับชันมัธยมศึกษาปีที่ 5 คิดเป็นร้อยละ 16.67  จำนวน 5 คน และ ระดับชันมัธยมศึกษาปีที่ 6 คิดเป็น    ร้อยละ 16.67  จำนวน 5 คน 
ตอนที่ 2 ความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการแต่งกายที่ผิดระเบียบ
เมื่อทำการพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (X ̅ =2.28) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการแต่งกายที่ผิดระเบียบอยู่ในระดับมากที่สุด คือ นุ่งกระโปรง หรือ กางเกงสั้น ไม่เลยหัวเข่า และ ใส่ถุงเท้าที่ยาวหรือสั้นเกินไป รองลงมาคือ ใส่ถุงเท้าที่ยาวหรือสั้นเกินไป ,ไม่ติดเข็มของโรงเรียน ,ไม่ติดเข็มของโรงเรียน,ไม่ปักชื่อ – สกุล ห้อง ลงบนเสื้อพละ,ไม่ใส่เข็มขัด,เด็กหญิง ม.ต้นไม่ใส่หูกระต่ายและทำกางเกงวอร์มพละให้เป็นขาเดฟ ตามลำดับ

ข้อเสนอแนะ
1. ควรจะเพิ่มระยะในการทำวิจัยให้มากกว่านี้
2. การทำวิจัยควรทำอย่างต่อเนื่อง
3. ในการทำวิจัยควรจะมีการวางแผนให้มากกว่านี้